Facebookหน้าแรก|บุคลากร|ข่าวประชาสัมพันธ์|เอกสารดาวน์โหลด|บทความและผลงานวิชาการ|ภาพกิจกรรม|วิดีโอกิจกรรม|สมุดเยี่ยม|แผนที่view 861569 View view 3.12.71.237 rss feed
 
 
บทความเรื่อง :  บทความล่าสุด "นพ.ประเวศ วะสี" ชี้โควิด ป้องกันการเกิดสงครามโลก สู่ทิศทางใหม่ บันทักเมื่อ 09/02/2021 ( 1385)

 

อ่านรายละเอียด บทความล่าสุด "นพ.ประเวศ วะสี" ชี้โควิด ป้องกันการเกิดสงครามโลก สู่ทิศทางใหม่

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี นักวิชาการด้านสาธารณสุขและการศึกษา เขียนบทความล่าสุด เรื่อง โลกหลังโควิด - โลก 7 N โควิด-19 ป้องกันการเกิดสงครามโลก สู่ทิศทางใหม่

158883776327

รายละเอียด ดังนี้

เมื่อโลกมีความเครียดจัด จะเกิดสงครามใหญ่

เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) เมื่อต้นทศวรรษ 1930 ตามมาด้วยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีคนตายประมาณ 60 ล้านคน หลังสงครามเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาบูมสุดๆ การทำสงครามถูกใช้เป็นวิธีแก้วิกฤต เพราะส่งคนจนจำนวนหนึ่งไปตาย ลดความกดดันทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันกระตุ้นเศรษฐกิจและการมีงานทำด้วยการผลิตอาวุธ และลดความแตกแยกทางการเมืองในชาติ เพราะในยามสงครามผู้คนรวมตัวกันเพื่อเอาชนะศัตรู แม้ฟังดูร้ายกาจ และน่าสลดหดหู่เพียงใดที่การทำสงครามถูกใช้เป็นเครื่องมือแก้วิกฤต ผลก็ไม่จีรัง

ก่อนโควิด-19 จะมา โลกเครียดจัดอยู่แล้ว

ความเหลื่อมล้ำอย่างสุดๆ ทั้งภายในและระหว่างประเทศ ทำให้โลกเครียดจัด สมทบด้วยความขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจ ลัทธิ อุดมการณ์ ศาสนา สีผิว เกิดสภาพขัดแย้งที่รุนแรงยุ่งเหยิงจนไม่มีทางออก ดังที่เห็นได้ในตะวันออกกลาง ระดับความแค้นของโลกมุสลิมที่มีต่อการที่มหาอำนาจตะวันตกผลักดันให้มีการตั้งประเทศอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์พุ่งสุดขีดปรอท พร้อมที่จะทำให้ทำอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นระเบิดฆ่าตัวตาย สงครามยิฮาร์ด ขับเครื่องบินชนตึก ก่อการร้ายสากล หรือทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถ้ามี การพยายามสร้างและสะสมอาวุธนิวเคลียร์เป็นภัยที่คุกคามโลกทั้งใบ

ความเครียดในตัวมนุษย์เองก็พุ่งสูง และแสดงอาการในรูปต่างๆ ทางจิตประสาทและสังคม เช่น โรคซึมเศร้า การติดยาเสพติด การฆ่าตัวตาย การฆ่าผู้อื่นตายโดยไม่ปรากฏสาเหตุ เช่น การกราดยิงที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ความกลัว ความวิตกกังวล ความรุนแรง ยิ่งไปกระตุ้นสมองส่วนหลังหรือสมองสัตว์เลื้อยคลานให้กัมมันตะมากขึ้น ทำให้มนุษย์ทำอะไรๆ ตามสัญชาตญาณมากกว่าปรีชาญาณ ยิ่งเพิ่มความรุนแรงให้โลก

ความรุนแรงในโลก นอกจากความรุนแรงอย่างโจ่งแจ้ง เช่น การฆ่ากันตายในสงครามโลกและสงครามอื่นๆ เป็นร้อยล้านคน ยังมีความรุนแรงอย่างเงียบ (Silent violence) ได้แก่ ความยากจนและความอยุติธรรมในสังคม ซึ่งก่อความทุกข์ยากและคร่าชีวิตประชาชนจำนวนมากกว่าจากความรุนแรงชนิดโจ่งแจ้งหลายเท่าตัว

โลกที่เครียดจัดขนาดนี้จะต้องระเบิดไปทางใดทางหนึ่ง เช่น เกิดมิคสัญญีกลียุค หรือสงครามล้างโลกหลายๆ ครั้ง จนกระทั่งโลกลดระดับความเครียดลง

โควิด-19 มาช่วยป้องกันสงครามโลกครั้งใหญ่ สู่ทิศทางใหม่

เพราะวิกฤติโควิด-19 คราวนี้ กระทบหมดทั้งโลกทุกมิติ และไม่มีผู้ชนะ มีแต่ผู้แพ้ 

 

โลกยุคใหม่ หลังวิกฤติโควิด-19

ทำไมและอย่างไร

วิกฤติโควิด-19 สั่นสะเทือนโลกทั้งใบ ทุกมิติ ข้ามชาติ ข้ามศาสนา ข้ามลัทธิอุดมการณ์ ข้ามเผ่าพันธุ์ ก่อให้เกิดจิตสำนึกใหม่ระดับโลก เดิมแม้รุนแรงขนาดทิ้งระเบิดปรมาณูที่ประชาชนลูกเด็กเล็กแดงตายทันทีเป็นแสนคน ก็ไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นจิตสำนึกที่ใหญ่พอ เพราะสงครามมีฝ่ายแพ้และฝ่ายชนะ แต่วิกฤตโควิด-19 ทุกฝ่ายแพ้หมด ทำให้เกิดจิตสำนึกใหม่ระดับโลกที่ใหญ่พอที่จะทำให้โลกเปลี่ยน เมื่อจิตสำนึกของโลกเปลี่ยนโลกก็เปลี่ยน โลกใหม่คือโลกที่มีจิตสำนึกใหม่ (New Consciousness World)

โลกยุคใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 มีอิทัปปัจจยตาสู่สภาพใหม่ ที่สรุปได้เป็น 7 ใหม่ หรือ 7ดังต่อไปนี้

1. จิตสำนึกใหม่ (New Consciousness) เป็นจิตสำนึกใหญ่ ที่หลุดออกจากสภาวะเดิมอันเล็กและคับแคบ จากการที่เห็นโลกทั้งโลก ทุกสิ่งทุกอย่างถูกกระทบกระเทือนจากไวรัสตัวเล็กนิดเดียวเพราะสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงกว้างใหญ่ไพศาล จิตสำนึกใหญ่ทำให้หลุดเป็นอิสระจากการถูกบีบคั้นอยู่ในความคับแคบ เหมือนคนที่ออกจากคุกอันจำกัดและบีบบังคับออกมาสู่โลกกว้าง ทำให้เห็นความจริง มีความแจ่มแจ้ง มีความสุข มีศักยภาพ หรือเรียกว่ามีชีวิตจิตใจใหม่ ที่ทำให้สิ่งใหม่อื่นๆเกิดตามมา

2. การรับรู้ใหม่ (New Perception) การรับรู้เป็นฐานการคิด การรับรู้ที่ผิดนำไปสู่การคิดผิดๆ ความจริงคือสรรพสิ่งเชื่อมโยงเป็นทั้งหมดหรือองค์รวม (Wholeness) หนึ่งเดียวกัน การรับรู้แบบแยกส่วน คิดแบบแยกส่วน ทำแบบแยกส่วน คือต้นเหตุของการเสียสมดุล และความรุนแรงในโลกยุคเก่า การรับรู้ใหม่ตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ว่าสรรพสิ่งอยู่ในความเป็นทั้งหมดเดียวกัน จะทำให้ตระหนักรู้ว่ามนุษย์ทั้งผองพี่น้องกัน อยู่ในองค์รวมหรือร่างกายเดียวกัน

3. วิธีคิดใหม่ (New Thinking) วิธีคิดเก่าคือคิดแบบแยกส่วน วิธีคิดใหม่คือคิดแบบบูรณาการ(Integration) การแยกส่วนทำให้ขาดบูรณาภาพและเสียสมดุล การบูรณาการทำให้เกิดบูรณภาพและดุลยภาพ

4. การทำใหม่ (New Action) การทำเก่าคือการทำแบบแยกส่วน การทำใหม่คือการพัฒนาอย่างบูรณาการ (Integrated development) การชำแหละออกเป็นส่วนๆ เช่น ชำแหละโค ชำแหละสุกร ทำให้สิ้นชีวิต ชีวิตคือการเชื่อมโยง การพัฒนาคือการเชื่อมโยง หรือบูรณาการทุกองค์ประกอบเข้าด้วยกัน

5. ความมุ่งหมายใหม่ (New Purpose) ความมุ่งหมายใหม่คือ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล(Living Together) ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม ไม่ใช่การแข่งขัน การสร้างความมั่งคั่ง การเอาชนะแบบเก่าๆ ซึ่งนำไปสู่การแตกสลายทางสังคมและการเสียสมดุล การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุลต้องเป็นสิ่งสูงสุดที่กำหนดระบบต่างๆ ให้สนอง เช่น ระบบเศรษฐกิจ และการเมือง ไม่ใช่เอาระบบเศรษฐกิจที่ผิดๆ เป็นตัวตั้งอย่างที่แล้วมา แล้วไปทำให้การอยู่ร่วมกันแตกสลายหักพัง การอยู่ร่วมกันอย่างสันติจึงสำคัญสูงสุด ต้องถือการอยู่ร่วมกัน (Living Together)

ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/879432

 

 


 
 
 
 
 
เชื่อมโยงภายใน
- ทำเนียบบุคลากร
- ข่าวประชาสัมพันธ์จากหน่วยงาน
- อัลบั้มรูปกิจกรรม
- อัลบั้มวิดีโอ
- เอกสารดาวน์โหลด

- เผยแพร่ผลงานวิชาการและบทความที่น่าสนใจ
- ผลงานดีกิจกรรมเด่น
- แผนที่การเดินทาง
- ผู้ดูแลระบบ
โรงเรียนทรายทองวิทยา
ต.โพนทราย อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด  เบอร์โทรติดต่อ  043-039970
ติดต่อผู้ดูแล นายสมชาย สุขบรรณ์ โทร 061-5374868
Facebook    rss feed

เว็บไซต์นี้ขับเคลื่อนโดย NKINFOWEB V3 demo