
การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้พลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย
พรชัย เจดามาน, เผชิญ กิจระการ, กลวัชร วังสะอาด และเบญจภัคร จงหมื่นไวย์
บทสรุปผู้บริหาร
การศึกษาเป็นกลไกหลักในการพัฒนา ส่งเสริม ปลูกฝังแนวความคิดและความรู้ให้กับเยาวชนพลเมืองโดยรวมที่เป็นตัวแปรหลักของความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ซึ่งการออกแบบการศึกษาจึงเป็นข้อต่อสำคัญของการพัฒนาในทุกด้าน อันเป็นเป้าหมายในการสร้างความมั่นคงและขีดความสามารถ การพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม การปรับสมดุลพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อการสร้างสังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งการเรียนรู้ การสร้างนวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายของการพัฒนาที่เป็นภารกิจสำคัญในการจัดระบบทิศทางการพัฒนาการจัดการศึกษา 4.0 ที่ตอบโจทย์ความเป็นพลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 และเป็นกลไกนำไปสู่การพัฒนาความเข้มแข็ง การพัฒนาประเทศสู่ประเทศไทยยุค 4.0 อย่าง “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” นั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมี “กรอบเป้าหมาย” การจัดการศึกษาที่ชัดเจนในการรับมือกับพลวัตศตวรรษที่ 21 (the 21st century dynamics) ที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงในภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์โลก ตามกรอบยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศไทย 4.0 อย่าง“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” นั้นก็คือ กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถมองเห็นกระบวนการการปฏิบัติงานทั้งหมด ส่งเสริมการปฏิบัติงานเป็นทีม เนื่องจากสามารถสื่อสารกระบวนการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนกับทีมงานได้กระจ่างชัด ซึ่งทำให้สามารถอธิบายหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น และทำให้ มองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น อันเป็นผลดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจากการกำหนดทิศทางและกระบวนการผลักดันให้ทุกองค์ประกอบของระบบสามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้พลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย เพื่อสามารถจัดการศึกษาให้มีความสมบูรณ์พร้อม มีความชัดเจนในการบริหารจัดการศึกษาที่ความเชื่อมโยงและการบูรณาการการทำงานที่สอดคล้องกัน สามารถใช้เป็นรากฐานสำคัญของการจัดการศึกษา ในด้านสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลงของพลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 ที่มีนัยสำคัญต่อการจัดการศึกษา 4.0 และกำหนดภาพรวมของเป้าประสงค์หลัก ด้านกระบวนการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้พลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืน ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้พลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืน และด้านแนวทางการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้พลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืน ต่อการขับเคลื่อนที่สามารถผลักดันแนวทางไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมของการ
ที่มา https://www.kroobannok.com/88772
|